วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง




ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems) หรือ EIS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบอีไอเอสก็คือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการรบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด
ลักษณะ รายละเอียด
1.ระดับการใช้งาน 1.มีการใช้งานบ่อย
2.ความยืดหยุ่น 2.สูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
3.การใช้งาน 3.ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
4.การสนับสนุนการตัดสินใจ 4.ผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
5.การสนับสนุนข้อมูล 5.ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
6.ผลลัพธ์ที่แสดง 6.ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
7.การใช้งานภาพกราฟฟิก 7.สูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
8.ความเร็วในการตอบสนอง 8.จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด

ลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร (เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร) นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบ และใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริหารดูในรายละเอียดที่ต้องการในจุดต่างๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างของระบบอีไอเอส เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงินและสถานภาพทางธุรกิจของบริษัทรวมทั้งอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สิน หรือจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อนาทีที่ใช้บริการสนับสนุนหลังการขายทางโทรศัพท์เป็นต้น โดยระบบอาจแสดงลูกศรเพื่อให้ทราบว่าอัตราส่วนดีขึ้น เท่าเดิมหรือแย่ลง รวมทั้งข้อมูลที่แสดงอาจใช้สีในการแสดงสถานการณ์ต่างๆ ก็ได้ ซึ่งลูกศรหรือสีจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถทราบถึงแนวโน้มได้อย่างรวดเร็ว ระบบอีไอเอสจะถูกออกแบบให้แสดงสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูลึกเข้าไปถึงรายละเอียดที่ต้องการได้ โดยการเลือกหัวข้อที่สนใจและสั่งให้ระบบแสดงข้อมูลในส่วนนั้นเพิ่มเติม
ข้อดี ข้อด้อย
1.ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน 1.มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2.การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ 2.อาจทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3.ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ 3.ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4.ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น 4.ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5.มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา 5.ระบบอาจจะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6.ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น 6.ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศประเภทอื่นภายในองค์กร


การนำสารสนเทศที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของข้าพเจ้า ซึ่งปัจจุบันในหน่วยงานทุกหน่วยงานมีการนำสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหาร วางแผน ตัดสินใจ เพื่อให้หน่วยงานมีการพัฒนา ก้าวหน้า และมีการเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับหน่วยงานของข้าพเจ้า


ยกตัวอย่างเช่น งานจัดเก็บรายได้ เป็นการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยในแต่ละปีเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้จะต้องมีการสำรวจหาข้อมูลของผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ของภาษีที่มีหน้าที่จะต้องชำระค่าภาษีนั้นๆ ก่อน หรืออาจให้เจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้น ยื่นเอกสาร หลักฐาน การเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้มีหน้าที่ที่จักต้องชำระภาษีนั้นๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสาร หลักฐาน แล้วจะมีการออกไปสำรวจตรวจสอบ ถ่ายรูป วัดพื้นที่ของขนาดป้าย ขนาดของพื้นที่ เพื่อทำการเก็บเป็นข้อมูลแล้วประเมินเป็นจำนวนเงินที่เจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นจะต้องชำระค่าภาษีให้แก่องค์กรต่อไป โดยเจ้าหน้าที่จะตัองทำการบันทึกข้อมูลลงในทะเบียนแต่ละประเภทของผู้ชำระภาษีด้วย โดยมีโครงสร้างของระบบสารสนเทศเช่นเดียวกันคือ

1.1. ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
1.2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ได้แก่ หัวหน้ากองการคลัง
1.3. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ปลัดเทศบาล
1.4. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ นายกเทศมนตรี
ซึ่งปัจจุบันมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงานมีการนำข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ลงบันทึกในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ E-LAAS (ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)โดยบันทึกฐานข้อมูลของผู้ชำระภาษี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยในระบบบันทึกบัญชีคอมพิวเตอร์นั้น สามารถค้นหาผู้ชำระภาษี ออกใบเสร็จ ใบแจ้งเตือนผู้ชำระภาษี ใบแจ้งเตือนผู้ค้างชำระภาษี จัดทำใบนำส่งเงิน


ความแตกต่างของระบบอีไอเอส และดีเอสเอส
1.ระบบดีเอสเอสจะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบอีไอเอสจะเน้นการให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
2.ระบบดีเอสเอสจะมีส่วนของการใช้งานที่ใช้ไม่ง่ายเท่ากับระบบอีไอเอส เนื่องจากระบบอีไอเอสเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้นั่นเอง
3.ระบบอีไอเอสสามารถสร้างขึ้นมาบนระบบดีเอสเอส เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบอีไอเอสจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบดีเอสเอส และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบดีเอสเอส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย


ความชาญฉลาดเชิงธุรกิจ

ผู้บริหารที่มีศักยภาพต้องพัฒนาระบบความคิด ให้สามารถคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) และต้องรู้จักการเล่นเกมที่เป็น Strategic Move โดยเฉพาะงานพัฒนาชุมชนควรคิดในลักษณะ Positive Shocking ที่สำคัญจะต้องคิดงานที่ทันเกมอยู่เสมอ การพัฒนาความคิดของผู้บริหาร ควรพัฒนาในประเด็นสำคัญ คือ

1. ปรับความรู้ความคิด (Vision shift)

2. ปรับกระบวนบริหารใหม่ (Management Shift)

3. ปรับวัฒนธรรมการทำงานใหม่ (Cooperate Culture shift)SMART OTOP PROGRAM โครงการ OTOP เป็นกระบวนการส่งเสริมความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ โดยนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา OTOP

1. การลงทะเบียนผู้ประกอบการสินค้า OTOP

2. การฝึก อบรมและพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP

3. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OPC)

4. การแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร (OPC)

SMART OTOP PROGRAM

คือ โครงการ "ให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำเพื่อยกระดับขีดความสามารถและทักษะของผู้ประกอบการ OTOP ปี 2547" มีการกำหนดเป็น 2 หลักสูตร คือ

1. หลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (พี่เลี้ยง)

2. หลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการสินค้า OTOP

ชุมชนSMART OTOP หมายถึง การทำให้ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ชุมชนที่ได้ลงทะเบียนแล้วมีความ "ชาญฉลาด" ในฐานะที่มีทั้ง "ภูมิปัญญา" และ "ทรัพยากร"SMART หรือชาญฉลาด ได้แก่

1) ชาญฉลาดในกระบวนการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ

2) ชาญฉลาดในการผลิต

3) ชาญฉลาดในการตลาด

4) ชาญฉลาดในการบรรจุภัณฑ์

ก้าวทันข่าว : นโยบาย SML กับการพัฒนาสังคม

นโยบาย SML คือ แนวนโยบายลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชนจัดสรรงบประมาณ แก้ปัญหาของประชาชนโดยประชาชน โดยแบ่งขนาดหมู่บ้านออกเป็น 3 ขนาด คือ เล็ก (S = Small) กลาง (M = Middle) ใหญ่ (L = Large) การวิเคราะห์นโยบาย SML ด้วยหลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมศักยภาพ (SWOT Analysis) สรุปได้ดังนี้ - ข้อดี/จุดแข็ง (Strengths) คือ

1. มีงบประมาณสนับสนุนแน่นอน

2. ประชาชนนำไปแก้ไขปัญหาได้

3. กระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

4. ประชาชนสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม- ข้อเสีย/จุดอ่อน (Weaknesses) คือ

1. ทำลายความเข้มแข็งของวัฒนธรรม

2. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนที่ใหญ่ ๆ ได้

3. ขาดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและอำเภอ

4. เกิดความขัดแย้ง

5. งบประมาณซ้ำซ้อน- โอกาส (Opportunities) คือ

1. ในปี 2547 จัดสรรให้แน่นอน

2. หมู่บ้านมีมากการจัดสรรงบประมาณไม่ทั่วถึง

3. ชุมชน กลุ่มคนได้รับการพัฒนา- ภัยคุกคาม/ปัญหาอุปสรรค (Threats) คือ

1. ความเห็นไม่สอดคล้องกัน

2. ปัญหาความเดือดร้อนมีมาก

3. งบประมาณไม่ต่อเนื่อง

4. เป็นการเร่งกระบวนการพัฒนาชุมชน

ภาพอดีตที่ผ่านมาของนโยบายรัฐบาล คือ

1. นโยบายพัฒนาชุมชนเริ่มจากการพัฒนาสภาตำบล

2. สร้างเสริมพระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นให้เข้มแข็งสังคมไทยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

สถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทยคือ

1. สังคมไทยขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. ผู้มีอำนาจมักใช้อำนาจหาผลประโยชน์

3. องค์กรปกครองท้องถิ่นมุ่งพัฒนาแต่โครงสร้างพื้นฐาน

4. สังคมถูกละเลย แนวคิดในการพัฒนาสังคม คือ ประชาชนในชุมชนต้องรู้จักการสร้างพลังชุมชนไปพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักการคิดร่วมกัน วางแผนร่วมกัน ทำงานร่วมกันประเมินผล การทำงานร่วมกัน และรับผลประโยชน์ร่วมกัน
แหล่งข้อมูลที่ค้นคว้าคือ http://rbu.rbru.ac.th

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว


ชื่อ นางบุญมี กล้าหาญ
รหัสนักศึกษา 5122702119
เกิดวันที่ 6 เมษายน 2517 อายุ 35 ปี
ที่อยู่ 142 หมู่ 4 บ้านเหล่ามะเขียว ตำบลกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
ประวัติการศึกษา
1.จบการศึกษาระดับประถม จากโรงเรียนบ้านเหล่ามะเขียว ปี 2529
2.จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ปี 2532
3.จบการศึกษาระดับ ปวช.สาขาการบัญชี จากวิทยาลัยเทคนิคยโสธร ปี 2538
4.จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์บัณฑิต เอกประถมศึกษา จากสถาบันราชภัฎอุบลฯปี 2543
คติประจำใจ
ข้างหน้าคือที่หมาย ข้างข้างคือที่แข่ง ข้างหลังคือกำลังใจ